Frequently Asked Questions (FAQ)

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม      

ระบบ MSB-NASS

ฐานข้อมูล AMLists ทั้งหมด เป็นข้อมูลที่บริษัท ดำเนินการประมวลผล (ในรูปแบบของการ downloaded และปรับรูปแบบของข้อมูลให้อยู่ ในรูปแบบที่ผู้รับ สามารถปรับใช้ได้ในระบบบันทึกข้ อมูลขั้นพื้นฐานขององค์กร) จากแหล่งฐานข้อมูลต้นทาง เช่น ข้อมูล Sanction lists ขององค์การสหประชาชาติ บริษัทฯได้ download จากแหล่งข้อมูลต้นทางโดยตรง (https://www.un.org/ securitycouncil/content/un-sc- consolidated-list) ตลอดจนข้อมูลขององค์กร/หน่ วยงานต่างประเทศอื่นๆ เช่นกัน

     กรณีข้อมูลจากสำนักงาน ปปง. ปัจจุบัน บริษัทฯได้ดำเนินการจัดรูปแบบข้ อมูลรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด( ไทย) รวมถึง บุคคลที่มีคำสั่งยึด/อายัดทรั พย์ฯ และ เพิกถอนคำสั่งยึด/อายัดทรัพย์ โดยทำซ้ำจากข้อมูลที่สำนักงาน ปปง. เผยแพร่ข้อมูลสาธารณะจากเวปไซต์ (ซึ่งทำให้บุคคลหรือนิติบุ คคลใดๆก็สามารถเข้าดูได้) และปรับให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ ผู้ใช้งาน สามารถนำเข้าสู่ฐานข้อมู ลขององค์กรได้ ซึ่งไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์หรือบทบั ญญัติแห่งกฎหมายฟอกเงินฯ หรือ กฎหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือกฎหมายอื่นๆ  
หมายเหตุ  กรณีข้อมูลบุคคลที่มีความเสี่ ยงสูง ซึ่งสำนักงาน ปปง. พิจารณาส่งให้สถาบันการเงิ นโดยเฉพาะเจาะจง บริษัทจะไม่สามารถแสวงหาข้อมู ลดังกล่าวได้เนื่องจากไม่เป็นที่ เปิดเผย

     กรณีข้อมูลบุคคลที่มี สถานภาพทางการเมืองของไทย บริษัทได้จัดทำฐานข้อมูลขึ้น โดยตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลซึ่ งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือบุ คคลที่มีสถานภาพทางการเมืองนั้ นสังกัดอยู่เท่านั้น จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้ องตามกฏหมายและไม่ละเมิดข้อมู ลส่วนบุคคลแต่ประการใด

     กรณีข้อมูลบุคคลที่มี สถานภาพทางการเมืองในต่างประเทศ บริษัทได้ดำเนินการประมวลผล (ในรูปแบบของการ downloaded และปรับรูปแบบของข้อมูลให้อยู่ ในรูปแบบที่ผู้รับ สามารถปรับใช้ได้ในระบบบันทึกข้ อมูลขั้นพื้นฐานขององค์กร) จากแหล่งฐานข้อมูลต้นทาง ซึ่งเป็นแหล่งข้อมู ลสาธารณะจากหลายเว็บไซต์ ของหน่วยงานระหว่างประเทศและ หน่วยงานต่างประเทศ ต่างๆ ในหลักการเดียวกันกับข้อมูล Sanction lists

    ทั้งนี้การดำเนินการรวบรวมข้อมู ลและประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่ สามารถใช้งานได้ ซึ่งบริษัทดำเนินการอยู่นั้น อยู่ในหลักการเดียวกันกับฐานข้ อมูลต่างประเทศอื่นๆเช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ของ Dow jones หรือ World-check

 เพียงแต่บริษัทมุ่งเน้นการจั ดทำฐานข้อมูลที่มีความจำเป็นต่ อการตรวจสอบตามกฏหมายฟอกเงิ นฯของไทย สำหรับผู้ประกอบการภายในประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ในระดับ นานาชาติดังกล่าว

  • ใช้กับคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง โดยระบบ MSB-NaSS จะคำนวณการใช้งานจากจำนวนครั้งตามรายชื่อที่ผู้ใช้งานส่งมาให้ประมวลผล

  • ผู้ใช้งานจะต้องรับผิดชอบควบคุมการใช้งาน และการใช้รหัสผ่านของตนเองอย่างเคร่งครัด หากนำไปให้ผู้อื่น หรือบุคคลที่สามใช้เพื่อประโยชน์อื่นที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจของตนเองตามที่ได้แจ้งไว้ จะเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้ และอาจต้องรับผิดทั้งทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย

  • ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากระบบ MSB-NaSS จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งของผู้ใช้งานที่จะต้องส่งรายชื่อบุคคล/นิติบุคคล/กลุ่มบุคคลที่เป็นลูกค้าของตนเองมาให้ระบบ MSB-NaSS ประมวลผลเท่านั้น ระบบ MSB-NaSS ไม่สามารถส่งข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นที่ไม่ใช้ลูกค้าของผู้ใช้งานมาให้ได้เพราะจะทำให้เป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • แนะนำให้ใช้วิธีการประมวลผลผ่านระบบ API ซึ่งย่อมาจาก Application Programming Interface คือการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง เพื่อให้ซอฟต์แวร์ภายนอกเข้าถึงและอัพเดทข้อมูลนั้นๆได้ แต่ยังอยู่ในขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ หรือจะบอกให้ง่ายขึ้นก็คือ API เป็นตัวกลางที่จะทำให้คอยรับคำสั่งต่าง ๆ ประมวลผลและนำข้อมูลส่งกลับคืนไปยังคนสั่ง หรือผู้ใช้งานโดยอัตโนมัติ

  • มีบริการ API ด้วย โดยขอผู้ใช้งาน (user) แต่ละรายติดต่อกับ Admin ระบบเพื่อส่งคู่มือการใข้งานแบบ API มาให้ ในกรณีที่ผู้ใช้งานสมัครใช้บริการแบบประมวลผล Web search อยู่แล้ว ผู้ใช้งานจะต้องสมัครเข้ามาใหม่อีกครั้งเพื่อขอใช้บริการแบบ API ด้วย

  • ในหน้าหนังสือเดินทาง หรือเอกสารการเดินทางอย่างอื่นที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง จะแสดงชื่อ นามสกุลของลูกค้า ให้ผู้ใช้งานระบุชื่อแรกในช่องชื่อ และคำที่เว้นวรรคต่อไปทั้งหมดให้ไประบุในช่องนามสกุล

  • สมาชิกจะได้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัตินี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (ซึ่งอยู่ในระยะการทดลองใช้งาน) ทั้งนี้ ภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 บริษัทจะแจ้งรายละเอียดและใบเสนอราคา ในการใช้บริการ สำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะใช้บริการต่อ โดยจะแจ้งทาง E-mail ต่อไป

  • เป็นฐานข้อมูลที่ครบถ้วนตามที่สำนักงาน ปปง กำหนด
    แต่มีส่วนที่เพิ่มเติมเป็น List ความเสี่ยงสูงของ สหรัฐอเมริกา (OFAC) และ บุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองไทยอีกกว่า สองหมื่นรายชื่อ สอดคล้องกับ กฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ.2563 ตามกฎหมายฟอกเงิน




  • เอกสารบริษัท นาย ก และ ข ต้องลงนามร่วมกัน ปรากฏว่า นาย ก เป็นคนสมัครใช้ระบบ MSB หนังสือมอบอำนาจจะต้องให้ นาย ก และนาย ข ลงนามร่วมกันมอบอำนาจให้นาย ก แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจลงนามแทนบริษัท


  • ในช่วงนี้ ให้ถือว่า หนึ่งนิติบุคคล หนึ่งผู้ใช้งาน หนึ่งรหัสผ่าน ใช้ได้ทุกสาขา ยังไม่มีค่าใช้จ่าย

  • หนังสือมอบอำนาจต้องติดอากรแสตมป์


  • ขอเรียนชี้แจงดังนี้

1. ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงโดยทั่วไปที่จะมีอยู่เป็นลักษณะของข้อยกเว้นการรับผิด (Disclaimer Clause) แบบสากลซึ่งจะมีปรากฏอยู่ในเวปไซด์ทั่วไป

2. บริษัทย่อมไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ค่าใช้จ่าย หรือความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เวปไซด์ของบริษัท หมายถึง กรณีที่เป็นการใช้เวปไซด์ของบริษัทฯ หรือเวปไซด์ที่เชื่อมโยงกับเวปไซด์ของบริษัท เช่น อาจมีการกล่าวอ้างนำชื่อ msb หรือเวปไซด์ msb ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือจับภาพหน้าจอของ msb ไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางอื่นของตนเอง หรือนำข้อมูลเวปไซด์ หรือข่าวสารของ msb ไปเผยแพร่ในลักษณะที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน บริษัทย่อมไม่รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว

3. ในกรณีเวปไซด์อื่นที่เชื่อมโยงกับเวปไซด์ของบริษัท บริษัทย่อมไม่รับผิดชอบในทำนองเดียวกัน อาทิเช่น ผู้ใช้งาน msb แล้วเชื่อมต่อไปยังเวปไซด์อื่น แล้วไปรับไวรัสเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือไปเชื่อมโยงต่อกับเวปไซด์การพนัน หรือเวปไซด์อื่นที่ผิดกฎหมาย หรือมีการเชื่อมโยงไปใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ หรือข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงอันเป็นความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง หรือความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บริษัทย่อมไม่รับผิดชอบต่อการกระทำผิดของผู้ใช้งานในลักษณะดังกล่าว

4. กรณีตามข้อ 3 หมายความรวมถึงความสูญเสีย ความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายใดๆที่เกิดขึ้นจากการใช้เวปไซด์ msb หรือนำไปเชื่อมโยงกับเวปไซด์อื่นๆด้วย อาทิเช่น หากนำไปเชื่อมโยงกับเวปไซด์การพนันแล้วต่อมามีค่าใช้จ่ายมาเรียกเก็บเป็นเงินเล่นการพนัน หรือถูก Ransom Ware มากักข้อมูลของท่านมาเรียกค่าไถ่ข้อมูล หรือผู้ใช้งานไปเชื่อมต่อกับเวปไซด์ผิดกฎหมายแล้วถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินคดี บริษัทย่อมไม่รับผิดชอบ

5. สำหรับความสูญเสีย ความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายใดๆที่เกิดขึ้นจากการใช้เวปไซด์ msb.co.th หรือจากการนำไปเชื่อมโยงกับเวปไซด์อื่นๆ ซึ่งรวมถึงความไม่ถูกต้องแม่นยำของข้อมูล ความล่าช้าในการถ่ายโอนข้อมูล ระยะเวลาในการเผยแพร่ข้อมูล เหตุขัดข้อง หรืออุปสรรคของการเชื่อมต่อ ความผิดพลาดในการแสดงผลความเสถียรของระบบไวรัสคอมพิวเตอร์ นั้น อาทิเช่น มีการเชื่อมต่อข้อมูลของ msb ไปโยงกับเวปไซด์การพนัน โดยผู้ใช้งานเล่นการพนันไปเป็นเงินจำนวนนึง ต่อมามีการเรียกเก็บเงินมาอีกจำนวนนึงที่ไม่ตรงกัน หรือใช้เวปไวด์ msb เชื่อมโยงไปโหลดข้อมูลขนาดใหญ่จากเวปไซด์อื่นมาด้วยทำให้เกิดความล่าช้า หรือใช้เวลานาน ทำให้มีปัญหาในการเชื่อมต่อ หรือได้รับไวรัสเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดความผิดพลาดในการแสดงผล เช่นทำให้หน้าจอของผู้ใช้งานไม่มีความเสถียร ทางบริษัทย่อมไม่รับผิดชอบในกรณีดังกล่าว

6. ในอดีตที่ผ่านมา เวปไซด์ของสมาคมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเอง ก็เคยถูกแฮกเกอร์ลักลอบนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย โดยนำไปเชื่อมต่อกับธนาคารแห่งหนึ่งของประเทศสเปน ทำให้ทางองค์กรที่กำกับดูแลการใช้อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศต้องระงับการใช้งานเวปไซด์ของสมาคมมาเป็นเวลานานนับเดือนมาก่อนหน้านี้

7. สำหรับกรณีการใช้งานข้อมูล AMLIST ที่ท่านได้สมัครใช้บริการผ่านระบบ MSB-NaSS นั้น เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งจะต้องทำข้อตกลงเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลบุคคลเสี่ยงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่างหากอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความรับผิดชอบของสมาชิกและ MSB ไว้ชัดเจน แยกต่างหากจากข้อตกลง และเงื่อนไขการใช้บริการทั่วไปที่เผยแพร่ไว้ใน msb.co.th

8. ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า “ข้อตกลง และเงื่อนไขการใช้บริการทั่วไป” นี้ เป็นเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการใช้งาน www.msb.co.th

9. สำหรับข้อตกลงเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลบุคคลเสี่ยงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น จะมีรายละเอียดที่จะได้ส่งมาให้สมาชิกลงชื่อเพื่อใช้บริการในราวเดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

“ลูกค้าต่างขาติ” ท่านสามารถเลือกตรวจเฉพาะ "หมายเลขประจำตัวประชาชน" หรือ "หนังสือเดินทาง" (Passport number) โดยไม่กรอกข้อมูล ชื่อ นามสกุลก็ได้ โดยให้ใส่ . (จุด) ในช่อง "ชื่อ" ส่วนช่อง "นามสกุล" สามารถเว้นว่างได้

กรณีที่ข้อมูลชื่อที่ต้องการตรวจสอบ มีมากกว่า ชื่อแรก และ นามสกุล เช่น มีชื่อกลางด้วย ท่านสามารถคีย์ชื่อกลาง ในช่องเดียวกับ ชื่อ หรือ นามสกุลก็ได้ แต่ต้อง “เว้นวรรค” ห่างจาก ชื่อ หรือ นามสกุล เพื่อแยกคำออกจากกัน

กรณีที่ “ลูกค้าต่างขาติ” มีข้อมูลเฉพาะ "ชื่อ" ไม่ปรากฎ "นามสกุล" ตามหนังสือเดินทาง ให้ท่านกรอกเฉพาะ ข้อมูล "ชื่อ" และ "หมายเลขหนังสือเดินทาง" สำหรับในช่อง "นามสกุล" สามารถเว้นว่างได้ ทั้งนี้ "ลูกค้าคนไทย" ระบบยังคงบังคับกรอกทั้ง ชื่อ และ นามสกุล หมายเหตุ ท่านสามารถใช้งานตามกระบวนการข้างต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้